5 กับแกล้มเบียร์ที่กินแล้วต้องร้องว้าว
5 กับแกล้มเบียร์ที่กินแล้วต้องร้องว้าว การดื่มเบียร์จะไม่น่าเบื่ออีกต่อไปหากเลือกเมนู กับแกล้ม ที่เมื่อทานเข้าไปแล้วส่งเสริมให้เกิดรสชาติใหม่ ๆ และเข้ากันสุด ๆ กับเบียร์ เพราะแม้ว่าเป็นเครื่องดื่มชั้นเยี่ยม ก็มิวายที่จะขาดของทานร่วมด้วยถือเป็นการเพิ่มอรรถรสในการดื่ม ฉะนั้นแล้วเพื่อเอาใจ คอเบียร์ การเลือกจับคู่เบียร์กับอาหารนั้น จะมีแนวคิดง่ายๆ อยู่ 2 แบบ Harmony : คำนี้หากแปลตรงๆ ตัวคือ “ความสามัคคี” แต่ในกรณีของการจับคู่กับอาหาร เราขอใช้คำว่า “สอดคล้อง” กัน คือเมื่อเราทานอาหารจานนั้นคู่กับเบียร์ที่เราเลือกมาแล้ว กลิ่นและรสชาติของอาหารนั้นสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน เช่น การทานไก่ย่างหรือหมูย่างกับ Amber ale หรือการทานพายเนื้อกับ Stout กลิ่นมอลต์คั่วของเบียร์จะไปในทิศทางเดียวกับกลิ่นย่างไฟของอาหาร ช่วยส่งเสริมให้จุดเด่นของอาหารจานนั้นเพิ่มมากขึ้น Contrast : คำนี้แปลตรงตัวว่า “ตรงกันข้าม” แต่ในกรณีนี้ผมขอใช้คำว่า “รสที่ตัดกัน” คือเบียร์ที่เราเลือกทานเพื่อช่วยลดจุดด้อยของอาหารจานนั้นๆ เช่น การเลือกทานเบียร์ Pilsner กับอาหารรสจัดอย่างอาหารไทย ความหวานอ่อนๆ ของเบียร์จะช่วยตัดรสเผ็ดได้ดี หรือ Witbier กับอาหารซีฟู้ด กลิ่นเปลือกส้มและเครื่องเทศของเบียร์จะช่วยลดกลิ่นคาวของอาหารทะเลได้ หรือการทานเบียร์ […]
ทำไมคนถึงนิยมดื่มเบียร์ไม่มีแอลกอฮอล์
ทำไมคนถึงนิยมดื่มเบียร์ไม่มีแอลกอฮอล์ สำหรับประเทศไทย ปัจจุบันเราเริ่มรู้จักกับเครื่องดื่มที่เป็นมิตรต่อสุขภาพนามว่า ‘เบียร์ไร้แอลกอฮอล์’ หรือ ‘มอลต์ดริ้งค์’ แต่ต้องบอกก่อนว่า ทั้งเบียร์ไร้แอลกอฮอล์ และมอลต์ดริ้งค์ คือเครื่องดื่มประเภทเดียวกัน ทว่าเรียกแตกต่างออกไปตามการทำตลาดของแต่ละแบรนด์ หรือความนิยมในแต่ละประเทศ รสชาติเหมือนเบียร์ วิธีการผลิตก็คล้ายเบียร์ แม้ประวัติศาสตร์ของเบียร์ไร้แอลกอฮอล์จะไม่เนิ่นนานถึง 5,000 ปีก่อนคริสตกาลเหมือนเบียร์ปกติ แต่ก็ต้องย้อนกลับไปถึงปี 1919 ซึ่งเบียร์ไร้แอลกอฮอล์ถือกำเนิดจากการห้ามสุราในสหรัฐฯ ที่ไม่อนุญาตให้ทำการผลิต นำเข้า ขนส่ง หรือจำหน่ายสุรา โดยกฎหมายฉบับนี้ทยอยเกิดขึ้นทั่วแดนลุงแซม เริ่มต้นจากรัฐแคนซัสในปี 1881 จนกระทั่งครอบคลุมทั่วประเทศในปี 1920 ในปี 1919 ผู้ผลิตเบียร์อย่าง Anheuser-Busch, Miller หรือ Schlitz เริ่มทำเครื่องดื่มที่เรียกว่า ‘ใกล้เคียงกับเบียร์’ (Near Beer) โดยออกแบบให้เครื่องดื่มดังกล่าวมีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบน้อยกว่า 0.5 เปอร์เซ็นต์ เพื่อต่อสู้กับกฎหมายในสมัยนั้น อย่างไรก็ตาม เพื่อจะดึงแอลกอฮอล์ออกมาพวกเขาต้องต้ม หรือกรองเบียร์ที่ปรุงออกมาแบบปกติอีกครั้ง ซึ่งหลายฝ่ายบอกว่าจะทำให้เบียร์มีรสชาติแย่ลง แต่กระบวนการผลิตก็มีการพัฒนาเรื่อยมา จนปัจจุบันวิธีในการทำเบียร์ไร้แอลกอฮอล์ แบ่งออกหลักๆ เป็น 3 แบบด้วยกัน […]
คราฟต์เบียร์จะมีวันถูกกฎหมายหรือไม่
คราฟต์เบียร์จะมีวันถูกกฎหมายหรือไม่ สำหรับคราฟต์เบียร์ไทย มีการประมาณกันว่ามีอยู่ 60-70 ยี่ห้อในปัจจุบัน โดยส่วนใหญ่ผลิตขายกันเองแบบไม่เปิดเผย เพราะผิดกฎหมาย และแบรนด์ที่วางขายในร้านค้าหรือร้านอาหารได้ ก็ถูกผลิตในประเทศเพื่อนบ้านอย่าง ลาว กัมพูชา เวียดนาม เกาหลี ญี่ปุ่น และบางประเทศในยุโรป กฎหมายเหล่านี้ทำให้ผู้ผลิตคราฟต์เบียร์รายเล็กไม่มีทางแจ้งเกิดในประเทศแน่นอน 2 กุมภาพันธ์ 2565 ที่รัฐสภา พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคก้าวไกล อภิปรายสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต ฉบับที่.. พ.ศ… เพื่อขอแก้ไข พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 มาตรา 153 ซึ่ง เท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร ส.ส.กรุงเทพฯ พรรคก้าวไกล เป็นผู้เสนอ เพื่อปลดล็อกให้ประชาชนสามารถผลิตสุราพื้นบ้าน สุราชุมชน และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อื่นๆ ได้ โดยเปรียบเทียบด้วยการยกมูลค่าตลาดสุราในประเทศไทยเทียบกับประเทศญี่ปุ่น “ผมสนับสนุนกฎหมายฉบับนี้ด้วยเหตุผลง่ายๆ ไทยกับญี่ปุ่นมีตลาดมูลค่าสุราเท่ากัน 2 แสนล้านกับ 2 แสนล้าน ทั้งประเทศไทยสุรามี 10 ยี่ห้อ ญี่ปุ่นมี 5 […]