กินเบียร์แล้วอ้วนจริงหรือ

แอลกอฮอล์ ดื่มแล้วทำให้อ้วนจริงหรือเปล่า

หลายคนคงเคยได้ยินคำพวกนี้ ออกกำลังกายห้ามกินเหล้า กินเบียร์นะ เพราะมันจะทำให้อ้วน แต่จะจริงอย่างที่เขาพูดกันไหม วันนี้ จะพาเพื่อนๆ มาไขข้อสงสัยกันว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แต่ละประเภทนั้น มีกี่แคลอรี่? สรุปกินได้หรือไม่ได้ และกินแค่ไหนถึงจะพอดี

เรื่องน่ารู้ของเบียร์

เบียร์ คือ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ทำมาจากธัญพืชอย่างข้าวสาลี ข้าวไรย์ หรือข้าวบาร์เลย์ หมักเข้ากับยีสต์ และใส่ดอกฮอปส์เพื่อเพิ่มรสขม ซึ่งช่วยตัดรสหวานที่มาจากน้ำตาลในธัญพืช ผู้ผลิตบางรายอาจเพิ่มวัตถุดิบอื่นเข้าไปเพื่อสร้างรสชาติที่แปลกใหม่ด้วย เช่น ผลไม้ สมุนไพร หรือเครื่องเทศ เป็นต้น

เบียร์แต่ละยี่ห้ออาจมีปริมาณแอลกอฮอล์แตกต่างกันไป สังเกตได้จากค่า ABV หรือ Alcohol By Volume ที่ติดอยู่บนบรรจุภัณฑ์ ซึ่งจะระบุเป็นเปอร์เซ็นต์ที่แสดงถึงปริมาณแอลกอฮอล์ในเครื่องดื่ม 100 มิลลิลิตร หากเบียร์ชนิดนั้นระบุค่า ABV 4 เปอร์เซ็นต์ หมายความว่าเบียร์นี้ในปริมาณ 100 มิลลิลิตรจะมีแอลกอฮอล์อยู่ 4 มิลลิลิตร ซึ่งโดยทั่วไปเบียร์ที่จำหน่ายตามท้องตลาดมักมีค่า ABV อยู่ 4-6 เปอร์เซ็นต์ แต่บางยี่ห้ออาจมีปริมาณแอลกอฮอล์น้อยกว่าหรือมากกว่านั้น

นอกจากปริมาณแอลกอฮอล์ที่แตกต่างกัน เบียร์แต่ละประเภทยังมีสีและรสชาติที่แตกต่างกันด้วย ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับกรรมวิธีการผลิต เวลาบ่ม และวัตถุดิบที่ผู้ผลิตแต่ละรายใช้ โดยลาเกอร์เบียร์ ซึ่งมักมีสีเหลืองอ่อนและใส เป็นเบียร์ประเภทหนึ่งที่หาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาด และได้รับความนิยมค่อนข้างสูงในหมู่ผู้บริโภคคนไทย

ทำไมดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ถึงอ้วน?

เพราะเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ว่าจะเป็นเหล้า เบียร์ ไวน์ สปาย หรือโซจู นั้นก็ต่างมีส่วนประกอบของแป้งและน้ำตาลซึ่งมาจากกระบวนการหมักหรือกลั่นมาจากข้าว หรือผลไม้ต่างๆ นั่นเอง ทำให้มีแคลอรี่ที่สูง จึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ถึงอ้วน

ควรดื่มแอลกอฮอล์แค่ไหนถึงจะพอดี?

เราจะสามารถดื่มได้จากแค่ไหน ก็ต้องมาหาค่าเฉลี่ยพลังงานที่ร่างกายควรได้รับในแต่ละวันก่อน โดยค่าเฉลี่ยคร่าวๆ นั้นคือ

 

ผู้ชาย : 1,800-2,000 กิโลแคลอรี่

ผู้หญิง :1,500-1,800 กิโลแคลอรี่

 

* แต่ละบุคคลจะมีความแตกต่างกัน ขึ้นกับ เพศ น้ำหนัก ส่วนสูง อายุ มวลกล้ามเนื้อ และกิจกรรมที่ใช้ในชีวิตประจำวัน

วิธีคำนวณค่าแคลอรี่ในแอลกอฮอล์

1 ดื่ม = ปริมาณแอลกอฮอล์ 10 กรัม ~ ค่าคงที่ของปริมาณเอทานอล 1 มล. = 0.79 กรัม

ตัวอย่างการหาค่าแคลอรี่ในแอลกอฮอล์

แก้วช็อต 1 แก้วบรรจุเหล้าได้ 42 กรัม จะได้แอลกอฮอล์ที่มีน้ำผสมอยู่ 42 กรัม ถ้าเหล้ามีปริมาณแอลกอฮอล์อยู่ราว 40% เปอร์เซ็นต์ เท่ากับว่ามีแอลกอฮอล์อยู่ราว 13.2 กรัม (0.40 x 42 x 0.79 = 13.2 กรัม ) จากนั้นนำไปคูณ 7 จะได้ค่าแคลอรี่  = 13.2 x 7 = 92.4 แคลอรี่

ปริมาณที่สามารถดื่มได้ต่อวัน

  • ผู้ชายดื่มไม่เกิน 3 – 4 หน่วยบริโภค ต่อวัน
  • ผู้หญิงดื่มไม่เกิน 2 – 3 หน่วยบริโภค ต่อวัน
  • ทางที่ดีเพื่อนๆ ควรคำนวณถึงอาหารมื้อหลักด้วย เพราะว่าการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก็เทียบเท่ากับการกินข้าว 1 มื้อเลย

วิธีแบ่งหน่วยบริโภค

  • Beer 1 ขวด ขนาด 360 – 440 มล. = 3 หน่วยบริโภค
  • แก้วไวน์ ขนาด 125 -1 50 มล. = 1.5 หน่วยบริโภค
  • เหล้า 1 ขวด ขนาด 750 มล. (แอลกอฮอล์ 40%) = 30 หน่วยบริโภค
  • เหล้า 1 แก้วช็อต ขนาด 25 มล. (แอลกอฮอล์ 40%) = 1 หน่วยบริโภค

Calorie ในแอลกอฮอล์

ขอแบ่งแอลกอฮอล์ทั้งหลาย ออกเป็นประเภทคร่าวๆ ดังนี้ และ เอา Calorie มาให้ดูกันตรงนี้เลย

  • เหล้า – 1 Shot (1.5 oz หรือประมาณ 45ml) = 90-100 calories
  • เบียร์ – 1 กระป๋อง / 1 ขวดเล็ก (356ml) 120-160 calories
  • ไวน์ (ทั้งแดง ขาว และแชมเปญ) – 1 แก้ว (150ml) 100-110 calories
  • Ready to Drink หรือพวก เหล้าอัดลม ไวน์อัดลม – 1 ขวดเล็ก (360ml) 250-300 calories 

หน่วยวัดที่ควรรู้ 

  • 1 oz = 30ml
  • 1 Shot = 1.5 oz หรือประมาณ 45 ml
  • 1 Pint = 473ml (เวลาไปกินเบียร์เมืองนอกบางที่เค้าจะนับเป็น 1 Pint)
  • Wine 1 แก้ว = 125-150 ml แล้วแต่ร้าน

อ้างอิงข้อมูลจาก

https://www.pobpad.com

https://www.fitfriend.co

https://www.fitterminal.com

https://fitjunctions.com