ท้องว่างก่อนดื่มเหล้า

ท้องว่างก่อนดื่มเหล้าเบียร์ทำให้เมาเร็วจริงหรือ

ท้องว่างแอลกอฮอล์จะถูกดูดซึมผ่านเยื่อบุกระเพาะอาหารเข้าสู่กระแสเลือดโดยตรง จึงทำให้เมาและง่วงซึมได้ไว อาการเมาค้าง มีผลกระทบต่อร่างกายหลายระบบ นำไปสู่ โรคตับแข็ง สมองเสื่อม วิตามินบีรวม น้ำขิง ชาเปปเปอร์มินต์ สามารถช่วยบรรเทาอาการเมาค้างได้

เตรียมพร้อมก่อนปาร์ตี้

เชื่อได้ว่าทุกคน คงเคยได้ยินคำบอกว่า “อย่าดื่มเบียร์ตอนท้องว่าง” หรือว่า “ดื่มเบียร์ตอนท้องว่างแล้วจะเมาเร็ว” กันแน่นอน ซึ่งเราก็เช่นกัน และสำหรับใครที่สงสัยว่า ทำไมดื่มเบียร์ตอนท้องว่างแล้วเมาเร็ว เรามาหาคำตอบกัน เมื่อเราทานอาหารเข้าไป อาหารจะถูกลำเลียงไปที่กระเพาะอาหาร ในกระเพาะอาหารนี้จะเอ็นไซม์ช่วยย่อยอาหาร จากนั้นก็จะส่งต่อไปที่ลำไส้เล็ก ซึ่งกระบวนการดูดซึมสารอาหารจะเกิดขึ้นมากที่สุดที่ลำไส้เล็ก 

ทำไมถึงไม่ควรดื่มเหล้าเบียร์ตอนท้องว่าง เพราะ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก็เช่นเดียวกัน เมื่อเราบริโภคแอลกอฮอล์ แอลกอฮอล์จะถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือดตอนที่อยู่ในกระเพาะเพียงแค่ 5-10% เท่านั้น และที่เหลือ 90-95% จะถูกดูดซึมที่ลำไส้เล็ก เมื่อกระเพาะของเราสามารถดูดซึมแอลกอฮอล์ได้เพียงแค่ 5-10% หมายความว่าหากชะลอให้แอลกอฮอล์ตกถึงลำไส้เล็กได้ช้า ก็จะทำให้แอลกอฮอล์ถูกดูดซึมช้าลง แล้วเราจะทำอย่างไรให้แอลกอฮอล์อยู่ในกระเพาะให้ได้นานที่สุด

อย่าปล่อยให้ท้องว่าง

เชื่อได้ว่าทุกคน คงเคยได้ยินคำบอกว่า “อย่าดื่มเบียร์ตอนท้องว่าง” หรือว่า “ดื่มเบียร์ตอนท้องว่างแล้วจะเมาเร็ว” กันแน่นอน ซึ่งเราก็เช่นกัน และสำหรับใครที่สงสัยว่า ทำไมดื่มเบียร์ตอนท้องว่างแล้วเมาเร็ว เรามาหาคำตอบกัน เมื่อเราทานอาหารเข้าไป อาหารจะถูกลำเลียงไปที่กระเพาะอาหาร ในกระเพาะอาหารนี้จะเอ็นไซม์ช่วยย่อยอาหาร จากนั้นก็จะส่งต่อไปที่ลำไส้เล็ก ซึ่งกระบวนการดูดซึมสารอาหารจะเกิดขึ้นมากที่สุดที่ลำไส้เล็ก 

ทำไมถึงไม่ควรดื่มเหล้าเบียร์ตอนท้องว่าง เพราะ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก็เช่นเดียวกัน เมื่อเราบริโภคแอลกอฮอล์ แอลกอฮอล์จะถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือดตอนที่อยู่ในกระเพาะเพียงแค่ 5-10% เท่านั้น และที่เหลือ 90-95% จะถูกดูดซึมที่ลำไส้เล็ก เมื่อกระเพาะของเราสามารถดูดซึมแอลกอฮอล์ได้เพียงแค่ 5-10% หมายความว่าหากชะลอให้แอลกอฮอล์ตกถึงลำไส้เล็กได้ช้า ก็จะทำให้แอลกอฮอล์ถูกดูดซึมช้าลง แล้วเราจะทำอย่างไรให้แอลกอฮอล์อยู่ในกระเพาะให้ได้นานที่สุด

ทานน้ำผักผลไม้หรือวิตามินบีรวมเพื่อลดการสูญเสียวิตามิน

ฮอร์โมนและเอนไซม์หลายชนิดถูกยับยั้งด้วยฤทธิ์ของแอลกอฮอล์ ที่สำคัญคือ ฮอร์โมน Antidiuretic (ADH) ที่ควบคุมไตให้ดูดน้ำกลับ เมื่อฮอร์โมน ADH ถูกยับยั้งทำให้ไตไม่ดูดน้ำกลับ เราจึงปัสสาวะบ่อยขึ้น ทำให้ยิ่งสูญเสียน้ำและเกลือแร่จำนวนมากจนมีอาการอ่อนเพลียได้ การขาดวิตามินที่พบมากหลังจากดื่มแอลกอฮอล์ คือ วิตามินเอ บี1 บี3 บี6 โฟเลท วิตามินอี และแร่ธาตุซีลีเนียม

ดื่มน้ำตามทุก 1 ชั่วโมง

จากเหตุผลในข้อ 2 ที่เราต้องทดแทนน้ำที่เสียไปจากปัสสาวะ และลดความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ในเลือดไม่ให้มากจนเกินไป

ดื่มมากไป ตัดสินใจผิดพลาด

แอลกอฮอล์มีฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนที่ควบคุมการตัดสินใจผิดถูก ส่วนที่คอยยับยั้งการกระทำที่เจ้าตัวคิดว่าไม่ถูกไม่ควรทั้งหลายไว้ เมื่อส่วนนี้โดนกดไว้ อาจเห็นหลายคนมีพฤติกรรมที่คึกคะนอง กล้าทำในสิ่งที่ไม่เคยทำ หรือสิ่งที่อาจเก็บกดไว้ออกมา ดังนั้นจึงควรดื่มพอประมาณ

ดื่มพอประมาณ

ทางการแพทย์ให้ผู้ชายดื่มแอลกอฮอล์ได้ไม่เกิน 3 หน่วยต่อวัน ผู้หญิงได้ไม่เกิน 2 หน่วยต่อวัน ในรายที่พบว่าไม่มีโรคตับ (ปริมาณแอลกอฮอล์ 1 หน่วย = การดื่มแอลกอฮอล์ 12 – 15 กรัม เช่น ไวน์ 120 ซีซี, เบียร์ 360 ซีซี, วิสกี้หรือวอดก้า 30 ซีซี)

ฟื้นฟูหลังปาร์ตี้

หลังปาร์ตี้อันหนักหน่วง หลายคนจะมีอาการเมาค้าง เพราะร่างกายนำ อะเซทัลดีไฮด์ ซึ่งเป็นสารพิษรุนแรงต่อร่างกายไปย่อยเป็นกรดอะซิติกไม่ทัน นำมาสู่อาการอันไม่พึงประสงค์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นหลังจากสร่างเมาแล้ว เช่น ปวดหัว คลื่นไส้ เสียการทรงตัว หิวน้ำ ปากแห้ง อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตัว เราจึงขอเสนอวิธีแก้เบื้องต้นดังนี้

ดื่มน้ำให้มาก หรือหาอาหารรองท้อง จะช่วยลดอาการเมาค้างได้

  • หากมีอาการปวดหัว สามารถทานยาแก้ปวด ลดไข้ได้
  • หากมีอาการคลื่นไส้ สามารถทานน้ำขิงอุ่นๆ หรือชาเปปเปอร์มินต์ จะช่วยลดอาการนี้ได้
  • เติมวิตามินแร่ธาตุให้ร่างกาย จากน้ำผักผลไม้ วิตามินบีรวม หรือวิตามินรวม
  • เพิ่มการสร้างกลูตาไธโอนในตับ ด้วย สารสกัดจากธรรมชาติ เช่น สารสกัดจากดอกมิลค์ทิสเทิล กรดอะมิโนเอ็นอะซิติลซีสเทอีน
  • อะโวคาโด หน่อไม้ฝรั่ง เพื่อฟื้นฟูเซลล์ตับและเร่งการกำจัดสารตกค้างที่ทำให้มีอาการเมาค้าง
  • หากง่วง สามารถดื่มกาแฟได้ เพราะคาเฟอีนในกาแฟทำให้ร่างกายตื่นตัวมากขึ้น

อ้างอิงข้อมูลจาก

https://www.samitivejhospitals.com

https://www.beerjaa.com